วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความเสี่ยงจาก "หมูกรอบ" - โค้ชสุขภาพ ออนไลน์ ปุ๊กกี้

ความเสี่ยงจาก "หมูกรอบ"

"หมูกรอบ" ทำมาจากหมูสามชั้น นำมาหมักกับเครื่องปรุงที่ใช้เกลือปรุงรส หรือซีอิ๊วต่างๆ แล้วนำไปทอดในน้ำมันท่วมๆ จนกรอบ เป็นอาหารที่หลายคนโปรดปรานเป็นพิเศษ ก็แหมมันอร่อยหนิใครจะไปอดใจไหวล่ะเนอะ แต่รู้หรือไม่ว่า หากเราบริโภคอาหารประเภทนี้เป็นประจำแล้วละก็ อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ได้เป็น 10 โรคเชียวล่ะ




          หมูกรอบเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

          1. โรคอ้วน และอ้วนลงพุง เพราะหมูกรอบทำมาจากหมูสามชั้นที่มีไขมันอิ่มตัวสูงรวมไปถึงการทอดด้วยน้ำมัน และน้ำมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูงเช่นกัน ซึ่งหมูกรอบเปล่าๆ 100 กรัมให้พลังงานถึง 385-420 แคลอรี และมีไขมันถึง 30 กรัม โดยหากเป็นข้าวหมูกรอบพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 550-600 กิโลแคลอรี ดังนั้น เมื่อบริโภคน้ำมันเข้าไปก็จะทำให้มีโอกาสได้รับพลังงานเกิน หากรับประทานบ่อยๆ ทำให้เกิดโรคนี้ตามมาได้

          2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ  หากผู้ที่มีภาวะอ้วน หัวใจจะทำงานหนักมากกว่าคนปกติ เพราะหัวใจจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงให้เพียงพอทั่วร่างกายในระยะยาว จึงก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติได้

          3. โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องจากน้ำมันที่ใช้ทอดหมูกรอบโดยส่วนมากแล้วจะใช้ไขมันที่มาจากน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันหมู อาจมีการใช้น้ำมันพืชบ้าง เช่นน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งน้ำมันปาล์มกับน้ำมันหมูจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ข้อดีของน้ำมันในกลุ่มนี้คือสามารถทนต่อความร้อนได้ดีกว่าเพราะมีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่า แต่ไขมันชนิดนี้ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจ ไขมันอิ่มตัวจะไปเพิ่มระดับของแอลดีแอลคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลตัวนี้อยู่ในร่างกายมากจะทำให้เสี่ยงต่อโรคนี้ได้

          4. โรคมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เพราะการที่น้ำมันผ่านความร้อนสูงโครงสร้างของน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้ขายใช้น้ำมันสำหรับทอดซ้ำแล้วซ้ำอีกจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารอะคริลาไมด์ที่มักพบในอาหารที่ทอด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเมื่อร่างกายได้รับสารอะคริลาไมด์สะสมจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

          5. โรคระบบทางเดินหายใจ และ โรคมะเร็งปอด ไอของน้ำมันที่ยิ่งทอดซ้ำ ยิ่งมีสารพิษโพลีไซคลิก อะโรมาติก โฮโดรคาร์บอนด์ (PAHs) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับที่พบในควันจากรถยนต์ ไฟจากการหุงต้ม หรือควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อทอดอาหารจนน้ำมันร้อน ที่จุดหนึ่งไอน้ำมันจะระเหยอยู่ในอากาศ เมื่อสูดเข้าไปในร่างกายแล้วก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคของระบบทางเดินหายใจ และมะเร็งปอดได้

          6.โรคไต เพราะความเค็มที่ได้มาจากการหมักหมู ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เสนอว่าปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันโดยที่เกลือไม่ควรเกิน 5 กรัม/วัน เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา (หรือเทียบได้กับปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน) ข้าวหมูกรอบ 1 จานจะมีโซเดียมอยู่ที่ 700-1,000 มิลลิกรัม

          7. โรคเบาหวาน เพราะผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ และการรับประทานโซเดียมเยอะก็ยังเสี่ยงต่อโรคนี้ด้วย

          8. โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากในหมูกรอบมีโซเดียมสูงอาจนำมาซึ่งโรคดังกล่าวได้เช่นกัน อีกทั้งการทอดในน้ำมันซ้ำๆ จะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารโพลาร์ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง

          ทั้งนี้ แล้วนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องเลิกรับประทานหมูกรอบไปตลอดชีวิต แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม 1 สัปดาห์ควรไม่เกิน 1-2 ครั้ง และเลือกรับประทานกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักสด ผักต้ม แทนการกินหมูกรอบกับอาหารทอดอย่างอื่นหรือผัดน้ำมัน นอกจากนี้แล้วควรออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อช่วยลดไขมันสะสมที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมานั่นเอง

โค้ชสุขภาพ ปุ๊กกี้
SuperFitTeam


วิธีลดน้ำหนัก ลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน ลดความอ้วน ผลไม้ลดความอ้วน ลดไขมัน อาหารเสริม วิธีลดหน้าท้อง วิธีลดต้นขา ลดพุง ผอม หน้าท้อง อ้วน เฮอร์บาไลฟ์ โค้ชสุขภาพ

วิธีลดน้ำหนัก ลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน ลดความอ้วน ผลไม้ลดความอ้วน ลดไขมัน อาหารเสริม วิธีลดหน้าท้อง วิธีลดต้นขา ลดพุง ผอม หน้าท้อง อ้วน เฮอร์บาไลฟ์ โค้ชสุขภาพ



ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น